วิสัยทัศน์ (Vision)

    องค์กรทันสมัย  ใส่ใจบริการ  ประสานชุมชน  พัฒนาตนพัฒนาระบบให้บริการ

พันธกิจ (Mision)

     1. เพื่อพัฒนาชีวิตของประชาชนในด้านความจำเป็นพื้นฐาน

     2. พัฒนาแหล่งน้ำเพื่อทำการเกษตรเพียงพอตลอดปี

     3. เพื่อส่งเสริมอาชีพให้ราษฎรมีรายได้เพิ่มขึ้นและยั่งยืน

     4. สนับสนุนชุมชนให้มีความเข้มแข็งและพึ่งตนเองได้

     5. เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการสาธารณสุขขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึง

     6. ประชนได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึง

     7. อนุรักษ์ฟื้นฟูขนบธรรมเนียมประเพณีและภูปัญญาท้องถิ่น

ยุทธศาตร์และแนวทางการพัฒนา

  เทศบาลตำบลท่าลาดดงยาง ได้กำหนดยุทธศาตร์และการพฒนาไว้เป็น  8  ยุทธศาตร์ คือ

  1.ยุทธศาตร์และการพฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน

    วัตถุประสงค์

        - เพื่อสร้างสรรค์เทศบาลตำบลท่าลาดดงยางให้เป็นเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน เป้าหมาย

       - สร้างและบูรณะสาธารณูปการและไฟฟ้า

       - พัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภค แนวทางการพัฒนา

        -ปรับปรุงและบูรณะ ระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ

        -พัฒนาฟื้นฟูแหล่งน้ำเพื่อใช้อุปโภค/บริโภคและการเกษตรอย่างเพียงพอ

 2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งระบบเศรษฐกิจชุมชน แก้ไขปัญหาความยากจน

    วัตถุประสงค์

       -เพื่อส่งเสริมอาชีพและเพิ่มรายได้แก่ประชาชน

       -เพื่อพัฒนาระบบการบริหารการจัดการของเศรษฐกิจชุมชน

       -เพื่อให้เกษตรกรได้ดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจชุมชนที่พึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน เป้าหมาย

       -ทำให้ประชาชนมีรายได้จากการประกอบอาชีพเพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 60 ภายในปี พ.ศ. 2558

      - ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน แนวทางการพัฒนา

      - ส่งเสริมและสนับสนุนกลุ่มเกษตรกรทุกกลุ่มเพื่อน้อมนำตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ

 3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านสังคมคุณภาพชีวิตและสวัสดิการ

     วัตถุประสงค์

         -เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน สร้างโอกาสด้านการศึกษา ส่งเสริมให้คนมีงานทำอย่างทั่วถึง ได้รับการคุ้มครองทางสังคม ตลอดจนทีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เป้าหมาย

        - สนับสนุนชุมชนให้มีความเข้มแข็ง และสามารถพึ่งพาตนเองได้

        - จัดทำประชาคมเพื่อออกกฎหมู่บ้าน แนวทางการพัฒนา

        - ส่งเสริมให้ชุมชนมีความเข้มแข็งสามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน

 4. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านสาธารณสุข

    วัตถุประสงค์

       - เพื่อให้ประชาชนได้รับการบริการด้านสาธารณสุขขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึง

       - เพื่อระงับโรค และป้องกันโรคติดต่อในหมู่บ้าน / ชุมชน เป้าหมาย

       - ประชาชนได้รับการบริการสาธารณสุขขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึง

       - ประชาชนมีสุขภาพกายสุขภาพจิตที่ดี สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างสงบสุข แนวทางการพัฒนา

       - รณรงค์ป้องกันโรคติดต่อทุกชนิด ทั้งคน และสัตว์

       - ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนได้รับการบริการสาธารณสุขที่สะดวกอย่างทั่วถึง

 5. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม

    วัตถุประสงค์ - เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมโดยชุมชนมี ส่วนร่วม

        - เพื่อสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนอนุรักษ์และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เป้าหมาย

        - ส่งเสริมการอนุรักษ์ และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมโดยชุมชน

        - สร้างจิตสำนึกให้ประชาชนรักและหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมยิ่งขึ้น

        - จัดระบบการบำบัดน้ำเสีย กำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล อย่างเป็นระบบ แนวทางการพัฒนา

        - การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

 6. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการศึกษา

    วัตถุประสงค์

       - เพื่อยกระดับการศึกษา การสร้างหลักสูตร ที่เหมาะสมกับท้องถิ่น

       - ส่งเสริมให้ประชาชน ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึง

       - เพื่อพัฒนาและให้ความสำคัญด้านการศึกษาทุกระดับชั้น เป้าหมาย

      - ประชาชนในเขตได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง

      - ผู้ปกครองได้ตระหนักและให้ความสำคัญด้านการศึกษาของบุตรหลานอย่างจริงจัง

      - ส่งเสริมสนับสนุนจัดหาทุนการศึกษา นักเรียน นักศึกษา ที่มีความรู้ความสามารถที่สำเร็จการศึกษาให้มีงานทำ แนวทางการพัฒนา

      - มุ่งยกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ครอบคลุมทุกวัยและพัฒนาคุณภาพชีวิตในสถานศึกษา

 7. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม

    วัตถุประสงค์ - เพื่อให้ประชาชนมีจิตสำนึก หวงแหนศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมประเพณีและภูมปัญญาท้องถิ่น

        - เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมธรรมเนียมประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น (ฮีตสิบสองครองสิบสี่) เป้าหมาย

        - ประชาชนในตำบลมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับประเพณีท้องถิ่น

        - ประชาชนเกิดการเรียนรู้และสามารถสืบทอดถึงประสบการณ์สืบสานประเพณี ภูมิปัญญา ท้องถิ่น อย่างต่อเนื่อง และเป็นระบบแบบแผน และเกิดความภาคภูมิใจ แนวทางพัฒนา

        - ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมประเพณีและรัฐพิธี

 8. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านประสิทธิภาพการเมืองการปกครองและพัฒนาบุคลากร

     วัตถุประสงค์

         - เพื่อส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการเมืองการปกครอง ตามระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยแก่ประชาชน

         - เพื่อให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมการบริหารจัดการองค์กร

         - เพื่อปรับปรุงและพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารงานและการบริการขององค์การบริหารส่วนตำบล เป้าหมาย

         - บุคลากรท้องถิ่นได้รับการฝึกอบรม ศึกษา สัมมนา เพื่อพัฒนาทุกๆ ด้านอย่างสม่ำเสมอ

         - การบริหารจัดการองค์กรเป็นไปด้วยความมีประสิทธิภาพ และได้มาตรฐานทางการบริหารงานสำนักงานที่ครอบคลุมทุกส่วน แนวทางการพัฒนา

         - พัฒนาประสิทธิภาพและรูปแบบในการทำงานให้ได้มาตรฐานสากล

 สรุปแนวทางการพัฒนาโดยภาพรวม

      เทศบาลตำบลท่าลาดดงยาง เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีหน้าที่และบทบาทสำคัญในด้านการบำบัดทุกข์บำรุงสุข ระดับท้องถิ่น ซึ่งได้แก่ งานในด้านรักษาความสงบและความเป็นระเบียบเรียบร้อย ของท้องถิ่น การส่งเสริมงานบริการประชาชนและการพัฒนาพื้นที่ในเขตเทศบาล งานด้านสาธารณูปโภค สาธารณูปการ การจราจร การศึกษาและการกีฬา การรักษาความสะอาดเรียบร้อยของชุมชนท้องถิ่น ดูแลการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตพื้นที่ให้เหมาะสม การรักษาและพัฒนาคุณภาพทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การบริหารงานทะเบียนราษฎรและบัตรประชาชน รวมถึงการส่งเสริมกระบวนการพัฒนาระบอบประชาธิปไตย การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน การส่งเสริมคุณภาพชีวิตและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การจัดให้มีผังเมืองที่ดีเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาเมือง การป้องกันและแก้ไขแหล่งชุมชนแออัด งานควบคุมการดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายรัฐบาลตามที่กฎหมายกำหนด และตามบทบาทหน้าที่ที่เป็นของประชาคมท้องถิ่น (Local Civil Society) ด้วยบริการที่เป็นธรรมและมีประสิทธิภาพเป็นที่พึ่งพอใจของชุมชน และผู้รับบริการ โดยการส่งเสริมให้ประชาชน และภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการ ในการบริหารจัดการภารกิจดังกล่าว เทศบาลตำบลท่าลาดดงยาง จะปรับปรุงการจัดองค์การให้ทันสมัย ใสใจในการให้บริการประชาชน ประสานงานและร่วมมือกับชุมชน พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงาน ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อให้งานด้านบริการและงานพัฒนาท้องถิ่นให้มีประสิทธิภาพ วัตถุประสงค์และเป้าหมาย เพื่อให้บรรลุจุดหมายของวิสัยทัศน์ร่วม ภายใต้ปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” และสังคมไทยที่พึงประสงค์ในอนาคต แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 จึงได้กำหนดวัตถุประสงค์หลัก คือ การปรับโครงสร้าง การพัฒนาประเทศให้เข้าสู่ดุลยภาพ โดยเปลี่ยนกระบวนการพัฒนาประเทศมุ่งเน้นการพัฒนาในเชิงปริมาณ มาสู่การพัฒนาในเชิงคุณภาพ ควบคู่ไปกับการสร้างความเป็นธรรมในสังคม และความสามารถก้าวทันโลกที่จะอำนวยประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่ของประเทศในการพัฒนาให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว เมื่อคำนึงถึงผลการพัฒนาที่ขาดความสมดุล และวิกฤตเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบให้คนไทยส่วนใหญ่ มีมาตรฐานความเป็นอยู่ลดลง และต้องกลับไปอยู่ในฐานะที่ยากจนมากขึ้น จึงเห็นสมควรกำหนดเป้าหมายการพัฒนาประเทศใหม่ โดยเปลี่ยนจากเดิมที่มุ่งสร้างความร่ำรวย ด้วยการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นหลัก ไปสู่การพัฒนาประเทศที่มีรากฐานที่เข้มแข็ง มีการกระจายรายได้ รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถละโอกาสในการพึ่งตนเอง พร้อมทั้งยกระดับรายได้ และคุณภาพชีวิตของคนส่วนใหญ่ของประเทศ อันจะทำให้เกิดการพัฒนาที่มี “ คน ” เป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริง สำหรับภารกิจสำคัญของชาติ ที่จะเป็นจุดเชื่อมโยงการทำงานร่วมกันในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 คือ การผนึกพลังความร่วมมือของทุกฝ่ายในการปฏิรูปสังคมไทยให้เกิด การบริหารจัดการ การเปลี่ยนแปลงไปสู่โครงการ การพัฒนาที่ได้ดุลยภาพ มุ่งสู่เป้าหมายหลักการแก้ปัญหาความยากจน ภายใต้แนวคิดปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” การปรับตัวเข้าสู่ “เศรษฐกิจยุคใหม่” และการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างเศรษฐกิจมหาภาคและเศรษฐกิจชุมชนให้เกื้อกูลกัน โดยมุ่งพัฒนาคนครอบครัว ชุมชน และสังคม เป็นแกนหลัก เพื่อสร้างขีดความสามารถแข่งขันและร่วมมือได้ โดยอาศัยการปฏิรูประบบบริหารจัดการให้เกิดธรรมาภิบาล เป็นกลไกลสำคัญที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว

การดำเนินการเพื่อป้องกันการทุจริต

652958
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
919
854
5102
644468
17351
38432
652958

Your IP: 172.69.166.15
2024-03-28 17:53